3.เทคนิคการจำ
5 เทคนิคการจำแบบฉบับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
1. ชัดเจน (focus) โฟกัสสิ่งที่ต้องการจดจำให้ชัดเจนว่าคืออะไร มีความโดดเด่นตรงไหน ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดที่สำคัญที่สุดที่ทำให้พลังของการจดจำมีประสิทธิภาพ
2. บันทึก (files) เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่ละเลยไม่ได้ หากคุณต้องการเรียกคืนเอกสารจากคอมพิวเตอร์กลับมาใช้อีก คุณจะต้องบันทึกโฟลเดอร์หรือไฟล์งานนั้นไว้เพื่อเรียกใช้ในภายหลัง ความทรงจำของคุณเช่นกันที่มีกลไกการทำงานแบบเดียวกัน
ดังนั้นเพื่อให้สามารถเรียกข้อมูลกลับมาใช้ได้ในระยะเวลาต่อมา ทุกคนจำเป็นต้องบริหารจัดการความทรงจำ และจัดเก็บข้อมูลไว้ในตู้เก็บไฟล์แห่งความทรงจำอย่างมีระบบและมีระเบียบ เพื่อเวลาเรียกใช้จะได้ง่ายขึ้น
3. ภาษาภาพ (pictures) เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ ทุกคนจำเป็นต้องจินตนาการสิ่งที่ต้องการจำให้เป็นภาพที่คุ้นเคย หรือภาพที่สะดุดตา พูดง่ายๆ อะไรก็ตามที่ต้องการจดจำจะต้องแปลงให้อยู่ในรูปแบบของภาษาภาพเสมอ และนี่คือเหตุผลที่อธิบายถึงการจดจำหน้าตาของผู้คน แต่ไม่สามารถจำชื่อได้เนื่องจากทุกคนมองเห็นรูปหน้าคน
แต่มองไม่เห็นชื่อของคนคนนั้น เวลาเจอหน้ากันอีกครั้งจึงรู้สึกคุ้นตาแต่จำชื่อไม่ได้ การจำเป็นภาพก็ใช้หลักการเดียวกัน ดังนั้นหากคุณต้องการจดจำบทกวี ตัวเลข ที่อยู่ ข้อมูลจากชั้นเรียน ข้อความในหนังสือ หรืออะไรก็ตาม จะต้องแปลงสิ่งเหล่านั้นให้เป็นภาพเสียก่อน เพื่อให้มองเห็นและจดจำมันได้
4. ติดตรึง (glue) การจะจดจำบางสิ่งบางอย่าง สิ่งนั้นต้องมีความโดดเด่นเพียงพอที่จะติดตรึงอยู่ในความทรงจำ กระทบกับความรู้สึกของตัวเองอย่างแรง หากสังเกตช่วงชีวิตที่ผ่านมา จะเห็นได้ชัดว่าความจำจะติดตรึงอยู่ในความทรงจำได้ก็ต่อเมื่อภาพนั้นมีความ เคลื่อนไหว มีความรู้สึก หรือมีสิ่งพิเศษบางอย่างมาเชื่อมโยงกับตัวเรา
และนี่เป็นคำตอบว่าทำไมคุณจึงสามารถนึกถึงรายละเอียดของอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อ 20 ปีก่อนได้อย่างแม่นยำ หรือนึกย้อนถึงเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อ 15 ปีก่อนได้ ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุผลเดียวกับที่คุณสามารถนึกถึงเหตุการณ์ดีๆ อย่างเช่นตอนที่คุณให้กำเนิดลูก หรือวันแต่งงาน
ดังนั้น ภาพที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อจำ จะต้องเป็นภาพที่ติดตรึงในความทรงจำได้ดี มีความเคลื่อนไหว หรือความรู้สึกร่วมด้วย และหากเป็นภาพที่มีความพิเศษมากก็จะยิ่งช่วยให้จำได้ดีขึ้น
5. ทบทวน (review) การทบทวนสิ่งที่บันทึกไว้ในความทรงจำ เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่จะทำให้สามารถจำ สิ่งต่างๆ ได้ในระยะยาว
วิธีการง่ายๆ ตื่นเช้าขึ้นมาให้ถามตัวเองว่า เมื่อวานนี้เราได้พบใครบ้าง เพื่อจะทบทวนรายชื่อของคนที่เราได้พบ แล้วดูว่ามีกี่คนที่คุณสามารถจำได้ ตรงนี้ถือเป็นแบบฝึกหัดที่ดี แถมยังช่วยเพิ่มเติมข้อมูลไปในเมโมรี่ส่วนตัวไปพร้อมๆ กันด้วย
ถ้าทุกคนสามารถทำได้ตามขั้นตอนนี้ ต่อไปไม่ว่าจะเป็นการพูดหน้าห้อง หรือพรีเซนต์งานต่างๆ ก็ทำได้อย่างน่าทึ่ง
ก่อนเข้าสู่กระบวนการจำ 5 ขั้นตอน ทุกคนจะต้องแบ่งพื้นที่ในสมองออกเป็นห้องๆ แล้วสร้างแฟ้มข้อมูล นำประเด็นต่างๆ มาแปลงให้เป็นรูปภาพที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน เช่น สิ่งต่างๆ ภายในบ้าน สถานที่ทำงาน เมืองสำคัญๆ หรือรายละเอียดของร่างกาย แล้วให้หมายเลขสิ่งของเหล่านั้นเพื่อช่วยในการจำให้ง่ายขึ้น
ทักษะเหล่านี้เป็นเรื่องที่พัฒนาได้ เพียงแต่ทุกคนต้องมีจินตนาการ
"ถ้าอยากจำอะไร ก็สร้างภาพแล้วใส่ทุกอย่างในแฟ้ม ไม่ว่าจะจำ 100 สิ่ง 1,000 อย่าง ไม่ว่าสิ่งที่อยากจำจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ก็ใช้หลักการพื้นฐาน 5 ขั้นตอนเหมือนกัน แทนสิ่งที่ต้องการจำด้วยรูปภาพหรือหมายเลข และหากต้องการจำได้ในระยะยาวจะต้องมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ผ่านไป 1 สัปดาห์กลับมาทบทวนครั้งหนึ่ง ผ่านไป 1 เดือนกลับมาทบทวนอีกครั้งหนึ่ง ความจำก็จะคงอยู่กับเราตลอดไป"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น